ชุด พานขันดอก





ชุด พานขันดอก

ออกแบบ

  • นายนัทพงษ์ ขันทอง และ นางปริษา อดิศัยพัฒนะกุล

ผู้ปั้นขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน

  • นายคำปัน คำแก้ว, นายสุรชัย วงค์รัตน์

ตกแต่งเขียนทอง

  • นางปริษา อดิศัยพัฒนะกุล

ปี พ.ศ.ผลิต

  • พ.ศ 2555-2560

ขนาด

  • แบบที่ 1  สูง 13.5 ซม.  เส้นผ่านศูนย์กลาง 18 ซม. น้ำหนัก 880 กรัม


  • แบบที่ 2  สูง 14 ซม.  เส้นผ่านศูนย์กลาง 22 ซม. น้ำหนัก 1.34 กิโลกรัม


  • แบบที่ 3  สูง 18 ซม.  เส้นผ่านศูนย์กลาง 22.5 ซม. น้ำหนัก 1.58 กิโลกรัม


วัสดุ

  • ดินสโตนแวร์

เทคนิค

  • การขึ้นรูป : ขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน
  • การเคลือบสี :  เคลือบสีส้ม และสีแดงกรัก
  • การเผา : เผาที่อุณหภูมิ 1,250 องศาเซลเซียส บรรยากาศการเผาไหม้แบบออกซิเดชั่น 
  • (Oxidation Firing : OF)
  • การตกแต่ง : ตกแต่งด้วยการเพ้นต์น้ำทอง 12 K เผาตกแต่งน้ำทองที่อุณหภูมิ 850 องศาเซลเซียส

วัตถุประสงค์

  • ผลิตภัณฑ์ใช้ในพิธีกรรมสำคัญ

แนวความคิด

  • การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุดพานขันดอกด้วยเทคโนโลยีเซรามิก ถอดแบบมาจากขันดอกแบบโบราณที่ทำมาจากไม้สักกลึง สำหรับใช้เป็นภาชนะใส่ดอกไม้และเครื่องเซ่นไหว้ของชาวล้านนา ใช้ดินสโตนแวร์เป็นตัวขึ้นรูปเคลือบไฟสูงตกแต่งด้วยลวดลายน้ำทอง ให้มีความแข็งแรงคงทนมากยิ่งขึ้น ภายใต้รูปแบบลักษณะที่มีความคล้ายคลึงกับพานขันดอกเดิม

  • เนื่องจากขันดอกแบบดั้งเดิมในรูปแบบไม้สักกลึง และไม้ไผ่สานลงรัก เขียนลายด้วยสีน้ำมันหรือปิดทองนั้น มีอายุการใช้งานที่สั้นมาก ด้วยเหตุนี้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุดพานขันดอก จึงใช้ดินสโตนแวร์เป็นตัวขึ้นรูปเคลือบไฟสูงตกแต่งด้วยลวดลายน้ำทอง ให้มีความแข็งแรงคงทนมากยิ่งขึ้น ภายใต้รูปแบบลักษณะที่มีความคล้ายคลึงกับพานขันดอกเดิม ผลิตภัณฑ์ชุดพานขันดอกจึงถูกจัดสร้างขึ้นโดยแบ่งออกเป็น 3 ขนาด ได้แก่ ขนาด เล็ก กลาง และใหญ่ เพื่อให้เกิดความหลากหลายและเหมาะสมต่อประเภทการใช้งาน