ชุด น้ำต้นเคลือบเซลาดล





ชุด น้ำต้นเคลือบเซลาดล

ออกแบบ

  • นายยศพัศย์  จันทร์เสนา, นางปริษา อดิศัยพัฒนะกุล และ นายสิงหล วิชายะ

เทคนิคด้านเซรามิก

  • นายสิงหล วิชายะ, นายคเชนทร์ เครือสาร, นางสัณฑณา บุญแก้ววุฒิ

ปี พ.ศ. ผลิต

  • พ.ศ. 2554-2560

ขนาด

  • น้ำต้น      สูง 27 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 14 ซม. น้ำหนัก 979 กรัม
  • แก้ว        สูง 6.5 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 6.2 ซม. น้ำหนัก 130 กรัม
  • จาน        สูง 3 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 26 ซม. น้ำหนัก 969 กรัม
  • น้ำหนัก รวม 2.23 กิโลกรัม


วัสดุ

  • ดินสโตนแวร์


เทคนิค

  • การขึ้นรูป : หล่อขึ้นรูป 
  • การเคลือบสี : สีเคลือบเซราดลเคมี 
  • การเผา : อุณหภูมิในการเผา 1,250 องศาเซลเซียส บรรยากาศการเผาไหม้แบบรีดักชั่น 
  • (Reduction Firing : RF)
  • การตกแต่ง : ตกแต่งด้วยการเดินเส้นน้ำทอง เพ้นต์สีน้ำทอง 12 K เผาตกแต่งที่ 850 องศาเซลเซียส


เทคนิคพิเศษ : 

  1. การแกะต้นแบบให้มีความลึกพอดีเพื่อสะดวกเวลาถอดแม่พิมพ์
  2. การถอดแม่พิมพ์ (Mold) ควรแบ่งชิ้นงานให้มากกว่าปกติ 1 ชิ้นเพื่อสะดวกเวลาหล่อขึ้นรูปและรักษาชิ้นงานเวลาถอดออก
  3. การหล่อขึ้นรูปชิ้นงานควรควบคุมความหนาให้ใกล้เคียงกันคือการจับเวลา และวัดความถ่วงจำเพาะให้ได้ไม่เกิน 1.75


วัตถุประสงค์

  • ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกของมหาวิทยาลัยแก่บุคคลสำคัญ หรือผู้ทำคุณประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัย


แนวความคิด

  • การพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้แรงบันดาลใจจากชุดหม้อน้ำต้นพื้นเมืองล้านนาโบราณ ซึ่งโดยทั่วไป ชาวล้านนาจะเรียกน้ำต้นนี้ว่า "น้ำต้นเงี้ยว" เป็นภาชนะที่ใช้ใส่บรรจุน้ำ มีลักษณะฐานอ้วนปุ้มโดยบริเวณคอน้ำต้นจะเรียวสูงขึ้นไป ด้านข้างมักเขียนลวดลายไว้อย่างสวยงาม ซึ่งในภาษาเหนือเรียกภาชนะนี้ว่า "น้ำต้น" โดยแต่เดิม 
  • น้ำต้นถือว่าเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่เกี่ยวข้องอยู่กับวิถีชีวิตของชาวล้านนาเป็นอย่างมาก จนอาจกล่าวได้ว่า น้ำต้นเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชาวล้านนา น้ำต้นนอกจากจะใช้เป็นภาชนะบรรจุน้ำดื่มแล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งของภาชนะใส่ดอกไม้บนแท่นบูชาในพิธีกรรมทางศาสนา ตลอดจนเป็นเครื่องประกอบยศของเจ้านายชั้นสูงอีกด้วย 
  • การผลิตน้ำต้นของชาวเงี้ยว (เงี้ยว เป็นคำที่คนเมืองหรือคนยวนในล้านนาใช้เรียกคนไทใหญ่) ในหมู่บ้านต่าง ๆ ที่สืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้ โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่ใช้อุณหภูมิในการเผาที่ไม่สูงมากนัก เนื้อดินจะหยาบหนาและมีรูพรุนค่อนข้างมาก ผิวจะมีการทาน้ำดินข้นและขัดผิวให้มันเพื่อกันน้ำซึมออกมา อาจมีการประดับตกแต่งผิวภายนอกภาชนะอย่างสวยงามด้วยลวดลายต่าง ๆ ที่เกิดจาการขูดขีด, แกะลายหรือกดลาย 
  • การพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิกถอดแบบจากผลิตภัณฑ์น้ำต้นรูปแบบของคนพื้นเมืองล้านนาโบราณ นำเข้าสู่กระบวนการผลิตแบบเซรามิก เพื่อให้เกิดความคงทนแข็งแรงขึ้น คุณค่าของน้ำต้นจึงไม่ได้อยู่ที่การทำหน้าที่บรรจุน้ำเท่านั้น น้ำต้นยังถือได้ว่าช่วยเพิ่มคุณค่าของงานศิลปกรรมโบราณให้มีฐานะสูงขึ้นอีกด้วย